สสค.หนุนครูใช้ศิลปะ-การเขียน…ดึงเด็กสนุกคิดวิชาคณิตศาสตร์

9 มี.ค.

สสค.หนุนครูใช้ศิลปะ-การเขียน…ดึงเด็กสนุกคิดวิชาคณิตศาสตร์

 

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน

สามเพื่อนครูคณิตศาสตร์จับมือเปิดห้องเรียนแนวใหม่ ใช้วิชาศิลปะและการเขียนเชิงสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือให้นักเรียนรู้จักคิด สนุกกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์

การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อสำหรับเด็กนักเรียนอีกต่อไป เมื่อนายปรีชากร ภาชนะ อาจารย์โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ พร้อมเพื่อนครูอีก 2 คน คือ นายชัชวาล นามปรีดา อาจารย์โรงเรียนนาจานศึกษา อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น และนางรุ่งนภา อารยธรรมโสภณ อาจารย์โรงเรียนชุมแพศึกษา อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ร่วมกันสร้างเครือข่ายนำวิชาศิลปะและการเล่าเรื่องมาเป็นสื่อให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ สร้างความเข้าใจและสนใจวิชาคณิตศาสตร์ ส่งผลให้การเรียนดีขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) องค์กรผู้ให้การสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ภายใต้โครงการนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1/255

นายปรีชากร ภาชนะ ผู้ได้รับทุนสนับสนุนจาก สสค. เจ้าของโครงการระเบิดชั้นเรียน : คณิตศาสตร์ไม่ยากอย่างที่คิดด้วยเรื่องวิธีการเรื่องราวและแผนภาพ (Amazing Teaching : Mathematics make it easy by SDM approach) ซึ่งใช้ “ศิลปะ” เข้ามาสร้างความเข้าใจ “คณิตศาสตร์” 4 โดยต่อยอดมาจากงานวิจัยของ ผศ.ดร.ปสาสน์ กงตาล แห่งคณะศึกษาศาสตร์ ม.ขอนแก่น นำมาปรับใช้ในห้องเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ที่สอนอยู่ เปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอนแบบเดิมที่มีครูเป็นศูนย์กลางเปลี่ยนไปให้นักเรียนได้คิดและลงมือทำเพื่อสร้างความเข้าใจด้วยตัวเอง

“ครูเป็นเพียงผู้กำหนดเนื้อหา และทำหน้าที่บอกวิธีการ ช่วยให้นักเรียนให้เข้าใจเรื่องที่จะเรียนได้ง่ายขึ้น นักเรียนดูการ์ตูนเรื่องไหนมาแล้วชอบ ก็สามารถนำเอาตัวการ์ตูนมาวาด พร้อมเชื่อมโยงเล่าเรื่องสำหรับวิชาเรขาคณิต หรือวิชาคณิตศาสตร์ก็ได้” อาจารย์ปรีชากร กล่าว

อาจารย์ปรีชากล่าวด้วยว่าผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยวิธีเล่าเรื่องและใช้ภาพวาด ทำให้ผู้เรียนมีความสุขจากการเรียนคณิตศาสตร์ มีเวลาให้กับนักเรียนอยู่กับชิ้นงาน รู้จักการทำงานแบบเป็นทีม สร้างวินัยในการรักษาเวลา สร้างความมั่นใจให้นักเรียนกล้าพูดกล้านำเสนอ ทำให้ผลการเรียนคณิตศาสตร์ดีขึ้น

“ดูจากที่ประเมินชิ้นงานของเด็ก จะเห็นพฤติกรรมการเรียนของเด็กสนุกสนาน มีความมั่นใจในตัวเอง ผลการเรียนดีขึ้น คนที่เรียนดีอยู่แล้วก็รักษาระดับ คนที่ด้อยกว่าก็ดีขึ้นและไปช่วยเพื่อนที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่ดีให้ดีขึ้นอีก บรรยากาศนี้เชื่อว่าจะทำให้นำไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตได้” อาจารย์ปรีชากล่าว

ขณะที่ อาจารย์ชัชวาล ครูคณิตศาสตร์จากโรงเรียนนาจานศึกษา อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น กล่าวว่าการสอนคณิตศาสตร์แบบเรื่องราวและแผนภาพ ครูจะลดบทบาทลง นักเรียนจะได้วิธีคิด ครูเป็นเพียงผู้แนะนำกระบวนการคิด สร้างบรรยากาศให้นักเรียนได้คุ้นเคย ค่อยๆปรับวัฒนธรรมการเรียน เพราะมีหลายวิธีที่จะหาคำตอบได้ นักเรียนไม่ได้เป็นผู้รอรับอย่างเดียวเหมือนที่ผ่านมา

ด้าน รศ.ดร.จิราภรณ์ ศิริทวี ที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้ สสค. กล่าวว่าการใช้ศิลปะและการเล่าเรื่องมาปรับใช้กับการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ หากเกิดผลดีกับผู้เรียนควรได้รับการสนับสนุนให้สามารถนำไปขยายผลต่อไปในสถานศึกษาอื่นๆได้ เพราะส่วนใหญ่การการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นการท่องจำ แต่ตอนนี้คณิตศาสตร์เป็นสิ่งใกล้ตัว ต้องทำการเรียนการสอนให้สนุกเชื่อมโยงกับชีวิตจริงให้ได้มากกว่าเรียนเพื่อใช้สอบ ความคิดสำคัญกว่าการที่นักเรียนสามารถคิดคณิตศาสตร์ได้

แฮ็ค- ท๊อป สองหนุ่มนักคณิตศาสตร์ออกแบบลายผ้าด้วยโปรแกรม GSP

9 มี.ค.

แฮ็ค- ท๊อป สองหนุ่มนักคณิตศาสตร์ออกแบบลายผ้าด้วยโปรแกรม GSP

โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) เป็นโปรแกรมเพื่อการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ส่งเสริมให้โรงเรียนประกอบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้เรียนคณิตศาสตร์โดยสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สามารถพัฒนาทักษะของการนึกภาพ ทักษะของกระบวนการแก้ปัญหา ช่วยสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจในการเรียนคณิตศาสตร์ได้มากขึ้น

ปัจจุบันกว่า 60 ประเทศทั่วโลกเขาใช้โปรแกรมนี้กันแล้ว มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ หากรวมภาษาไทยด้วยก็ 16 ภาษา โดยโปรแกรม GSP พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Key Curriculum Press ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 และพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ในส่วนของประเทศไทยนั้นได้ลงนามในพิธีครองลิขสิทธิ์การใช้ซอฟท์แวร์ GSP เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพมหานคร

โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ก็เป็นอีกโรงเรียนหนึ่งที่มีการนำโปรแกรม GSP มาใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนทุกระดับชั้น ซึ่งนักเรียนได้มีการต่อยอดการเรียนรู้สู่การสร้างผลงานทางคณิตศาสตร์ที่น่าสนใจ

ล่าสุด วรวิทย์ อุตมัง (แฮ็ค) และ ธวัชชัย อุตมัง (ท๊อป) ชั้น ม. 5/1 โรงเรียนศรีสงครามวิทยา ได้ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ออกแบบลายผ้าด้วยโปรแกรม GSP ดังกล่าว

ด้วยใจรักทางคณิตศาสตร์ ทั้งสองจึงใช้เวลาช่วงเย็นหลังเลิกเรียนประมาณวันละ 30 นาที – 1 ชั่วโมงทุกวัน ขลุกอยู่ในห้องคณิตศาสตร์และฝึกฝนการใช้โปรแกรม GSP ก่อนกลับบ้าน จนเกิดความชำนาญ และทดลองออกแบบลวดลายผ้าด้วยตัวเอง เมื่อได้ลวดลายสวยงามถูกใจแล้ว จึงได้นำลายผ้าไปให้กลุ่มทอผ้าบ้านเลิงจัดการทอจนกลายเป็นผืนผ้าตามที่ต้องการ เช่น ลายผีตาโขน ลายไก่ ลายนก ลายดอกไม้ต่าง ๆ

ในการสร้างลวดลายใช้คำสั่งสำคัญในโปรแกรม GSP เช่น คำสั่ง การสร้างเส้นตรง การแปลงทางเรขาคณิต การเลื่อนขนาน การสะท้อน การหมุน เป็นต้น

แฮ็ค (วรวิทย์ อุตมัง) ได้เริ่มรู้จักว่ามีโปรแกรม GSP ใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์ ตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูหลวงวิทยา จากนั้นได้ย้ายมาศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนนี้ก็ยังไม่ได้สัมผัสจริงจัง จนเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คุณครูนำโปรแกรม GSP มาสอนงการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และมีการสร้างสรรค์ชิ้นงานต่าง ๆ

“ตอนที่เริ่มฝึกใช้โปรแกรม GSP ยังใช้งานไม่ค่อยเป็น แต่ก็ได้ฝึกฝนบ่อย ๆ จนได้พัฒนาทักษะขึ้นมาเรื่อย ๆ รู้สึกดีใจที่ปัจจุบันเราสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งตอนแรกเรามองภาพรวมต่าง ๆ เป็นนามธรรม ไม่มีรูปภาพ แต่พอใช้โปรแกรมนี้ทำให้เรียนคณิตศาสตร์เห็นเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจน เช่นกราฟ หรือพื้นที่ต่าง ๆ”

เนื้อหาที่แฮ็คชอบมากและถนัดที่สุดคือ เรื่องของฟังก์ชัน กราฟ เพราะว่าเรียนสนุก ซึ่งโปรแกรมนี้จะแสดงผลออกมาอย่างชัดเจนและเข้าใจ โปรแกรม GSP (Geometer ‘s sketchpad) ช่วยสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ดี มีความแม่นยำถูกต้อง

โดยเขากล่าวว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องรอบ ๆ ตัว ที่เราสามารถมองทุกอย่างเป็นคณิตศาสตร์ได้ ตัวอย่างการทำรั้วล้อมรอบที่ดิน ต้องมีการคิดคำนวณต่าง ๆ เราก็สามารถแปลงเป็นสมการทางคณิตศาสตร์ด้วยโปรแกรมนี้ และโปรแกรมนี้ยังสามารถประยุกต์กับวิชาฟิสิกส์ในเรื่องของคลื่น ซึ่งตรงกับเรื่องกราฟในวิชาคณิตศาสตร์

ท๊อป (ธวัชชัย อุตมัง) เล่าว่า ท็อปกับแฮ็คจะทำงานร่วมกัน โดยแบ่งงานตามความถนัด แฮ็คจะถนัดในด้านการสร้างสรรค์ศิลปะ ส่วนตัวท๊อปจะถนัดเนื้อหาและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์

เทคนิคการเรียนคณิตศาสตร์ ของท๊อป คือ ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำแบบฝึกหัด การเรียนคณิตศาสตร์จะต้องขยันทำโจทย์ จะได้เจอโจทย์รูปแบบใหม่ ๆ หาวิธีแก้ต่อไป ส่วนเทคนิคการฝึกปรือการใช้โปรแกรม GSP ส่วนใหญ่มาจากการแก้โจทย์ เพื่อต่อยอดทางความคิด

“สำหรับเพื่อน ๆ ที่ยังไม่เข้าใจโปรแกรมนี้ การฝึกหัดใช้โปรแกรม GSP นั้นไม่ยาก ในโปรแกรมมีเมนูพื้นฐานและเครื่องมือเป็นภาษาไทย คำสั่งที่ใช้ส่วนใหญ่ก็มีการแปลงทางเรขาคณิต การสร้างรูปต่าง ๆ การคำนวณ เขียนกราฟ ถ้าใช้คำสั่งพื้นฐานเหล่านี้เป็น เราก็สามารถประยุกต์ไปยังเรื่องต่าง ๆได้ ฝึกฝน บ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญก็จะสามารถประยุกต์ใช้ทำความเข้าใจวิชาอื่น ๆ ได้ เช่น ฟิสิกส์ เป็นต้น”

จากการติดตามผลการใช้โปรแกรม GSP ของโรงเรียนต่าง ๆ พบว่า โปรแกรมนี้ทำให้ครูและนักเรียนมีเวลาในการเรียนการสอนมากขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลานานในการสร้างรูปเรขาคณิตจำนวนมากเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีต่าง ๆ อีกทั้งยังทบทวนได้ง่ายและบ่อยขึ้น

การสอนด้วยโปรแกรม GSP ยังทำให้นักเรียนเรียนได้สนุก เข้าใจได้เร็ว และน่าตื่นเต้น นอกจากนั้นการใช้ GSP สร้างสื่อการสอนและใบงาน ยังทำได้รวดเร็วและแม่นยำกว่าใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศอื่น ๆ สามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหว (animation) มาใช้อธิบายเนื้อหาที่ยาก ๆ เช่น ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ให้เป็นรูปธรรม ให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจง่าย และโปรแกรมยังเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติด้วยตัวเองได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนวิชาอื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปะอย่างไม่มีข้อจำกัด

โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ มรนม. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์สู่มาตรฐานสากล

9 มี.ค.

โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ มรนม. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์สู่มาตรฐานสากล

 

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2555 โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์และ สถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา ได้จัดการอบรมเรื่อง “การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมหลักสูตร คณิตศาสตร์สู่มาตรฐานสากล” ณ ห้องประชุม 32.03.01 ซึ่งได้รับเกียรติ จาก Prof.Dr.Andy Lui ผู้เชี่ยวชาญสาขาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กอัจฉริยภาพ จาก Department of Mathematics of Alberta ประเทศ Canada เป็นวิทยากรการอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้า อบรมได้มีความรู้ในการพัฒนาทักษะและกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การเรียนการสอนสำหรับนักเรียนให้มีความรู้ ทางคณิตศาสตร์สู่มาตรฐานสากลต่อไปในอนาคต

จัดอบรมครูกลุ่มระดับสูงรุ่นที่ 2 “กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา (ป.1-3)” ระหว่างวันที่ 17 – 21 กันยายน 2555 และ “กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา (ป.4-6)” ระหว่างวันที่ 24 – 28 กันยายน 2555 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์คมกฤช ตรีสินธุรส รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธาน ณ ห้องประชุมคุรุเวทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

การอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีเนื้อหาทั้งหมด 8 เรื่อง ใช้เวลาในการอบรม 5 วัน จำนวน 36 ชั่วโมง การอบรมมีทั้งวิธีการบรรยายและปฏิบัติกิจกรรม โดยเน้นให้ผู้เข้ารับ การอบรมมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล โดยมีเรื่องที่อบรมดังนี้ การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ การแก้ปัญหาสาระจำนวนและการดำเนินการ การแก้ปัญหา สาระการวัด การแก้ปัญหาสาระเรขาคณิต การแก้ปัญหาสาระพีชคณิต การแก้ปัญหาสาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การแก้ ปัญหากับโครงงานคณิตศาสตร์ และการประเมินผลการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์

โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ ราชภัฏโคราช จัดอบรมครูกลุ่มระดับสูงรุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

9 มี.ค.

โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ ราชภัฏโคราช จัดอบรมครูกลุ่มระดับสูงรุ่นที่ 2

 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดอบรมครูกลุ่มระดับสูงรุ่นที่ 2 “กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา (ป.1-3)” ระหว่างวันที่ 17 – 21 กันยายน 2555 และ “กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา (ป.4-6)” ระหว่างวันที่ 24 – 28 กันยายน 2555 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์คมกฤช ตรีสินธุรส รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธาน ณ ห้องประชุมคุรุเวทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

การอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีเนื้อหาทั้งหมด 8 เรื่อง ใช้เวลาในการอบรม 5 วัน จำนวน 36 ชั่วโมง การอบรมมีทั้งวิธีการบรรยายและปฏิบัติกิจกรรม โดยเน้นให้ผู้เข้ารับ การอบรมมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล โดยมีเรื่องที่อบรมดังนี้ การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ การแก้ปัญหาสาระจำนวนและการดำเนินการ การแก้ปัญหา สาระการวัด การแก้ปัญหาสาระเรขาคณิต การแก้ปัญหาสาระพีชคณิต การแก้ปัญหาสาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การแก้ ปัญหากับโครงงานคณิตศาสตร์ และการประเมินผลการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์

มรส.เวิร์กช็อปครูทำโครงงานคณิตศาสตร์ เพิ่มทักษะความสามารถในการคิดของนักเรียน

9 มี.ค.

มรส.เวิร์กช็อปครูทำโครงงานคณิตศาสตร์ เพิ่มทักษะความสามารถในการคิดของนักเรียน

รศ.ดรธงชัย เครือหงษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2555 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ(เวิร์กช็อป) เรื่อง “การทำโครงงานคณิตศาสตร์”?ให้กับครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 60 คน?ณ ห้องวิทยสโมสร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงงานคณิตศาสตร์สามารถนำทักษะและความรู้ทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้และมีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงงานคณิตศาสตร์ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ รศ.ประสิทธิ์ ทองแจ่ม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา, ผศ.ดร.สุรพล เนาวรัตน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ และนางสาวกันญารัตน์ หนูชุมอาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตร์

คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวต่อไปว่า จากสภาพจริงในปัจจุบันพบว่านักเรียนยังมีปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการคิด โดยสังเกตได้จากผลการประเมินภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในตัวบ่งชี้ด้านการคิด พบว่า ผลการประเมินที่ได้ยังค่อนข้างต่ำ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไขยังเร่งด่วนเพื่อการพัฒนาประเทศ ชาติที่ยั่งยืนต่อไป

“การสอนแบบโครงงานเป็นการสอนรูปแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นให้นักเรียนใช้กระบวนการคิด มีการวางแผน เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันครูคณิตศาสตร์ยังใช้การสอนแบบโครงงานน้อยมาก โดยจะเห็นได้จากมีโรงเรียนที่ส่งโครงงานเข้ารับการประกวดในสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นละ 2-3 โครงงานเท่านั้น สาขาวิชาคณิตศาสตร์เห็นความจำเป็นเรื่องการสอนโดยใช้โครงงาน จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ขึ้น เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ และนำความรู้ที่ได้ไปจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานคณิตศาสตร์ในโรงเรียนต่อไป” รศ.ดร.ธงชัย กล่าว

 

ราชภัฏโคราชจัดพิธีมอบโล่รางวัลและโล่เชิดชูเกียรติ การสอบแข่งขันคณิตศาสตร์

9 มี.ค.

ราชภัฏโคราชจัดพิธีมอบโล่รางวัลและโล่เชิดชูเกียรติ การสอบแข่งขันคณิตศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2556 โปรแกรมวิชา คณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้จัดให้มีพิธีมอบโล่รางวัลและโล่เชิดชูเกียรติ การสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ครั้งที่ 8 ประจำปีการศึกษา 2555 ณ ห้องประชุม อเนกประสงค์ 32.03.01 โดยได้รับเกียรติจาก รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา รองศาสตราจารย์สะอาดศรี คงนิล เป็นผู้มอบรางวัลและกล่าวชื่นชม นักเรียนที่ได้รับรางวัล ซึ่งแสดงถึงการมีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่ดีเยี่ยม โดยเป็นผู้ที่มี ความเก่งทางคณิตศาสตร์จะเป็นผู้ที่มีความคิดเชิงระบบที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์และเป็นพื้นฐาน ที่จะเรียนรู้วิชาการต่างๆ ได้ดีกว่าคนอื่นๆ พร้อมทั้งยึดหลักคุณธรรมควบคู่กันไป

การจัดโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ส่งเสริมความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ กระตุ้นให้นักเรียนตื่นตัวใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมและ เพิ่มความสนใจในวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น

จากปี 2007 ซึ่งได้ 600 ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 552 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 606 แต่ทั้งสองวิชาก็ยังมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติซึ่งอยู่ที่ 500 คะแนน ส่วนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 440 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 445 ขณะที่วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 464 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 474 สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 433 เพิ่มขึ้นจากปี 2007 ซึ่งได้ 381 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 457 เพิ่มขึ้นจากปี 2007 ซึ่งได้ 424

โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 424 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 474 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 450 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 501 และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 419 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 504 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 441 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 528

นายปรีชาญกล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาคะแนนจำแนกตามภูมิภาคพบว่า ภาคตะวันออกและปริมณฑลมีคะแนนสูงขึ้นทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยภาคตะวันออกมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 495 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 427 วิชาวิทยาศาสตร์ 508 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 466 ส่วนปริมณฑล วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 481 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 436 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 506 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 472 ทั้งนี้ สำหรับภูมิภาคอื่นๆมีคะแนนเฉลี่ยลดลง โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบนที่มีคะแนนลดลงจนน่าเป็นห่วง ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ 415 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 483 และวิชาวิทยาศาสตร์ 441 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 510

นายปรีชาญเปิดเผยอีกว่า ส่วนผลการวิจัยระดับชั้น ป.4 มี 52 ประเทศเข้าร่วม ขณะที่ประเทศไทยเข้าร่วมประเมินเป็นครั้งแรก พบว่าไทยมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 458 อยู่ในอันดับที่ 34 และวิชาวิทยาศาสตร์ 472 อยู่ในอันดับที่ 29 โดยประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ สิงคโปร์ 606 คะแนน ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์สูงสุด ได้แก่ เกาหลีใต้ 587 คะแนน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในภาพรวม ไทยถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่ (poor) ในวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ (Fair)

ทั้งนี้ เมื่อจำแนกตามรายสังกัดพบว่าโรงเรียน สาธิตมีคะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 540 คะแนน วิทยา ศาสตร์ 562 สูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่กำหนดไว้ 500 คะแนน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 502 คะแนน วิทยาศาสตร์ 522 คะแนน โรงเรียนเอกชน คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 487 คะแนน วิทยาศาสตร์ 509 คะแนน โรงเรียนสังกัดเทศบาล/ท้องถิ่น คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 476 คะแนน วิทยาศาสตร์ 495 คะแนน และโรงเรียนสังกัด สพฐ. คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 446 คะแนน วิทยาศาสตร์ 456 คะแนน ซึ่งโรงเรียนในสังกัด อปท. และ สพฐ. ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ

อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบตามภูมิภาคนักเรียนในกรุงเทพมหานครมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานา ชาติทั้งสองวิชา ส่วนนักเรียนภาคตะวันออกและภาคตะวันตกมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติในวิชาวิทยาศาสตร์ และนักเรียนในภาคอีสานตอนบนมีคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำที่สุด และภาคใต้มีคะแนนวิชาวิทยาศาสตร์ต่ำที่สุด

“นอกจากนี้ มีผลการวิจัยด้านครูยังได้ระบุว่า ครูไทยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งสูงกว่าสิงคโปร์ แต่ผลการประเมินที่ออกมากลับต่ำกว่าสิงคโปร์ค่อนข้างมากทั้ง 2 วิชา ขณะที่ครูไทยมีความมั่นใจในการสอน และความพร้อมในการเตรียมการสอนทั้ง 2 วิชาอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นหลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเร่งด่วน โดยต้องพัฒนาครู สถานศึกษา และนักเรียนไปพร้อมๆ กัน” นายปรีชาญกล่าว.

ทบทวนการวิธีการสอนเพื่อเด็กไทยในทศวรรษหน้า

9 มี.ค.

ทบทวนการวิธีการสอนเพื่อเด็กไทยในทศวรรษหน้า

อาจารย์พงษ์เทพ บุญศรีโรจน์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พร้อมด้วย ดร. วรวรงค์ รักเรืองเดช รองผู้อำนวยการสถาบันการรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พร้อมด้วย ศ.ดร.กฤษณะ เนียมมณี หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในทศวรรษหน้า” เพื่อยกระดับการศึกษาคณิตฯ วิทย์ฯ และเทคโนฯของเด็กไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ ในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในโรงเรียน (วทร.21) และการประชุมนานาชาติ ISMTEC 2013 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

�| } �����<�ั้น ม.2 มี 45 ประเทศที่เข้าร่วมประเมิน ไทยมีผลคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ที่ 427 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 28 และวิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนน 451 อยู่ในอันดับที่ 25

 

รอง ผอ.สสวท.กล่าวอีกว่า เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังกับคะแนนเฉลี่ยในปี 2007 พบว่า คะแนนเฉลี่ยที่เด็กไทยทำได้ลดลงทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยเมื่อปี2007 วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 441 และวิทยาศาสตร์ 471 อย่างไรก็ตาม การประเมินในปี 2011 ประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ เกาหลีใต้ มีคะแนนเฉลี่ย 613 ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์คะแนนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สิงคโปร์ 590 คะแนน ขณะที่ไทยเมื่อพิจารณาในภาพรวมถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่(poor) ทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

เมื่อพิจารณาคะแนนโดยจำแนกตามรายสังกัดพบว่า โรงเรียนสาธิตมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 554 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 600 ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 552 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 606 แต่ทั้งสองวิชาก็ยังมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติซึ่งอยู่ที่ 500 คะแนน ส่วนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 440 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 445 ขณะที่วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 464 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 474 สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 433 เพิ่มขึ้นจากปี 2007 ซึ่งได้ 381 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 457 เพิ่มขึ้นจากปี 2007 ซึ่งได้ 424

โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 424 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 474 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 450 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 501 และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 419 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 504 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 441 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 528

นายปรีชาญกล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาคะแนนจำแนกตามภูมิภาคพบว่า ภาคตะวันออกและปริมณฑลมีคะแนนสูงขึ้นทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยภาคตะวันออกมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 495 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 427 วิชาวิทยาศาสตร์ 508 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 466 ส่วนปริมณฑล วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 481 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 436 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 506 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 472 ทั้งนี้ สำหรับภูมิภาคอื่นๆมีคะแนนเฉลี่ยลดลง โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบนที่มีคะแนนลดลงจนน่าเป็นห่วง ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ 415 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 483 และวิชาวิทยาศาสตร์ 441 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 510

นายปรีชาญเปิดเผยอีกว่า ส่วนผลการวิจัยระดับชั้น ป.4 มี 52 ประเทศเข้าร่วม ขณะที่ประเทศไทยเข้าร่วมประเมินเป็นครั้งแรก พบว่าไทยมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 458 อยู่ในอันดับที่ 34 และวิชาวิทยาศาสตร์ 472 อยู่ในอันดับที่ 29 โดยประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ สิงคโปร์ 606 คะแนน ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์สูงสุด ได้แก่ เกาหลีใต้ 587 คะแนน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในภาพรวม ไทยถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่ (poor) ในวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ (Fair)

ทั้งนี้ เมื่อจำแนกตามรายสังกัดพบว่าโรงเรียน สาธิตมีคะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 540 คะแนน วิทยา ศาสตร์ 562 สูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่กำหนดไว้ 500 คะแนน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 502 คะแนน วิทยาศาสตร์ 522 คะแนน โรงเรียนเอกชน คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 487 คะแนน วิทยาศาสตร์ 509 คะแนน โรงเรียนสังกัดเทศบาล/ท้องถิ่น คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 476 คะแนน วิทยาศาสตร์ 495 คะแนน และโรงเรียนสังกัด สพฐ. คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 446 คะแนน วิทยาศาสตร์ 456 คะแนน ซึ่งโรงเรียนในสังกัด อปท. และ สพฐ. ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ

อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบตามภูมิภาคนักเรียนในกรุงเทพมหานครมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานา ชาติทั้งสองวิชา ส่วนนักเรียนภาคตะวันออกและภาคตะวันตกมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติในวิชาวิทยาศาสตร์ และนักเรียนในภาคอีสานตอนบนมีคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำที่สุด และภาคใต้มีคะแนนวิชาวิทยาศาสตร์ต่ำที่สุด

“นอกจากนี้ มีผลการวิจัยด้านครูยังได้ระบุว่า ครูไทยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งสูงกว่าสิงคโปร์ แต่ผลการประเมินที่ออกมากลับต่ำกว่าสิงคโปร์ค่อนข้างมากทั้ง 2 วิชา ขณะที่ครูไทยมีความมั่นใจในการสอน และความพร้อมในการเตรียมการสอนทั้ง 2 วิชาอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นหลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเร่งด่วน โดยต้องพัฒนาครู สถานศึกษา และนักเรียนไปพร้อมๆ กัน” นายปรีชาญกล่าว.

วิจัยTIMSSชี้ศึกษาไทยติดกลุ่ม’แย่’ผลประเมินวิชาเลข-วิทย์ม.2และป.4ถอยหลังเข้าคลองทั้งหมด

9 มี.ค.

วิจัยTIMSSชี้ศึกษาไทยติดกลุ่ม’แย่’ผลประเมินวิชาเลข-วิทย์ม.2และป.4ถอยหลังเข้าคลองทั้งหมด

ศึกษาธิการ * ผลวิจัย  TIMSS 2011 ชี้ชัดการศึกษาไทยถอยหลัง เทียบผลประเมินวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นานาชาติชั้น ม.2 ปี 50 กับปี 55 พาเหรดกันตกต่ำ ชั้น ป.4 สอบครั้งแรกแย่ไม่แพ้กัน ทำให้ไทยถูกจัดอันดับประเทศกลุ่มประเทศผลการเรียนแย่ ด้านผลประเมินครู ระบุชัดครูไทยเรียนสูงจบ ป.ตรี แต่สอนไม่เป็น เทียบกับสิงคโปร์มีครูจบปริญญาน้อยกว่า แต่สอนดีกว่า “สสวท.” จี้ยกเครื่องคุณภาพการศึกษา

วันที่ 11 ธันวาคม 2555 เวลา 10.00 น. ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดผลวิจัยการศึกษาเรื่อง”แนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ พ.ศ.2554 หรือ TIMSS 2011″ จัดโดย The International Association for the Evaluation of Educational Achievement หรือ IEA โดยนายปรีชาญ เดชศรี รอง ผอ.สสวท. เปิดเผยว่า การประเมินของ TIMSS ในปี 2011 ประเทศไทยได้เข้าร่วมประเมิน 2 ระดับชั้น ได้แก่ ชั้น ป.4 และ ม.2 ซึ่งแบ่งผลวิจัย 2 ระดับชั้น ดังนี้ ชั้น ม.2 มี 45 ประเทศที่เข้าร่วมประเมิน ไทยมีผลคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ที่ 427 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 28 และวิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนน 451 อยู่ในอันดับที่ 25

รอง ผอ.สสวท.กล่าวอีกว่า เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังกับคะแนนเฉลี่ยในปี 2007 พบว่า คะแนนเฉลี่ยที่เด็กไทยทำได้ลดลงทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยเมื่อปี2007 วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 441 และวิทยาศาสตร์ 471 อย่างไรก็ตาม การประเมินในปี 2011 ประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ เกาหลีใต้ มีคะแนนเฉลี่ย 613 ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์คะแนนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สิงคโปร์ 590 คะแนน ขณะที่ไทยเมื่อพิจารณาในภาพรวมถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่(poor) ทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

เมื่อพิจารณาคะแนนโดยจำแนกตามรายสังกัดพบว่า โรงเรียนสาธิตมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 554 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 600 ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 552 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 606 แต่ทั้งสองวิชาก็ยังมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติซึ่งอยู่ที่ 500 คะแนน ส่วนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 440 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 445 ขณะที่วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 464 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 474 สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 433 เพิ่มขึ้นจากปี 2007 ซึ่งได้ 381 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 457 เพิ่มขึ้นจากปี 2007 ซึ่งได้ 424

โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 424 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 474 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 450 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 501 และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 419 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 504 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 441 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 528

นายปรีชาญกล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาคะแนนจำแนกตามภูมิภาคพบว่า ภาคตะวันออกและปริมณฑลมีคะแนนสูงขึ้นทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยภาคตะวันออกมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 495 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 427 วิชาวิทยาศาสตร์ 508 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 466 ส่วนปริมณฑล วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 481 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 436 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 506 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 472 ทั้งนี้ สำหรับภูมิภาคอื่นๆมีคะแนนเฉลี่ยลดลง โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบนที่มีคะแนนลดลงจนน่าเป็นห่วง ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ 415 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 483 และวิชาวิทยาศาสตร์ 441 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 510

นายปรีชาญเปิดเผยอีกว่า ส่วนผลการวิจัยระดับชั้น ป.4 มี 52 ประเทศเข้าร่วม ขณะที่ประเทศไทยเข้าร่วมประเมินเป็นครั้งแรก พบว่าไทยมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 458 อยู่ในอันดับที่ 34 และวิชาวิทยาศาสตร์ 472 อยู่ในอันดับที่ 29 โดยประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ สิงคโปร์ 606 คะแนน ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์สูงสุด ได้แก่ เกาหลีใต้ 587 คะแนน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในภาพรวม ไทยถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่ (poor) ในวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ (Fair)

ทั้งนี้ เมื่อจำแนกตามรายสังกัดพบว่าโรงเรียน สาธิตมีคะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 540 คะแนน วิทยา ศาสตร์ 562 สูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่กำหนดไว้ 500 คะแนน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 502 คะแนน วิทยาศาสตร์ 522 คะแนน โรงเรียนเอกชน คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 487 คะแนน วิทยาศาสตร์ 509 คะแนน โรงเรียนสังกัดเทศบาล/ท้องถิ่น คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 476 คะแนน วิทยาศาสตร์ 495 คะแนน และโรงเรียนสังกัด สพฐ. คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 446 คะแนน วิทยาศาสตร์ 456 คะแนน ซึ่งโรงเรียนในสังกัด อปท. และ สพฐ. ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ

อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบตามภูมิภาคนักเรียนในกรุงเทพมหานครมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานา ชาติทั้งสองวิชา ส่วนนักเรียนภาคตะวันออกและภาคตะวันตกมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติในวิชาวิทยาศาสตร์ และนักเรียนในภาคอีสานตอนบนมีคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำที่สุด และภาคใต้มีคะแนนวิชาวิทยาศาสตร์ต่ำที่สุด

“นอกจากนี้ มีผลการวิจัยด้านครูยังได้ระบุว่า ครูไทยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งสูงกว่าสิงคโปร์ แต่ผลการประเมินที่ออกมากลับต่ำกว่าสิงคโปร์ค่อนข้างมากทั้ง 2 วิชา ขณะที่ครูไทยมีความมั่นใจในการสอน และความพร้อมในการเตรียมการสอนทั้ง 2 วิชาอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นหลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเร่งด่วน โดยต้องพัฒนาครู สถานศึกษา และนักเรียนไปพร้อมๆ กัน” นายปรีชาญกล่าว.

เกร็ดความรู้วิชาคณิตศาสตร์

1 ธ.ค.

เกร็ดความรู้วิชาคณิตศาสตร์

ทำไม…การหารจึงใช้เครื่องหมาย  ÷

สัญลักษณ์ ÷ ได้ถูกนำมาใช้โดย จอห์น  วอลลิส  ( John Wallis 1616 – 1703 )ในประเทศอังกฤษและสหรัฐ
อเมริกา แต่ไม่แพร่หลายในทวีปยุโรป เพราะใช้เครื่องหมายโครอน( : )กันจนชินแล้ว

ในปี 1923 คณะกรรมการแห่งชาติเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในสหรัฐอเมริกากล่าวว่าเครื่องหมายหาร    (÷)และเครื่องหมายโครอน( : ) ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในชีวิตธุรกิจ  แต่ใช้ในวิชาพีชคณิตเท่านั้น  จึงได้มีการนำเครื่องหมายเศษส่วน( / )มาใช้แทนเครื่องหมายหาร   (÷)

อ้างอิงจากรายงาน  National Committee on Mathematical Requirement ของ Mathematical Association of America,Inc( 1923,P 81 )

เครื่องหมาย ´ มีกี่แบบ

คำว่า Multiply มาจากคำว่า Multiplicare  เป็นภาษาละติน   ซึ่งหมายถึง  การมีค่าเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ  นักคณิตศษสตร์ Oughtred เป็นคนคิดเครื่องหมายคูณเป็นรูป ´ ในปี1631   ต่อมาHarriot  แนะนำให้ใช้เครื่องหมายจุด  .  ในปีเดียวกัน

ในปี  ค.ศ. 1698 Leibniz    เขียนถึง  Bernoulli  ว่า     “ ฉันใช้ ´ เป็นสัญลักษณ์ในการคูณ    มันสับสนกับตัวX บ่อยครั้ง ฉันจึงใช้สัญลักษณ์ง่ายๆ คือ   . (จุด) ”

ปัจจุบันนี้การคูณใช้เครื่องหมาย 3 แบบได้แก่   3´a หรือ   3.a หรือ (3)a หรือการวางชิดกันคือ3a

ทำไม…การบวกจึงใช้เครื่องหมาย +

ว่าบวกมาจากภาษาละตินว่า adhere ซึ่งหมายความว่า “ ใส่เข้าไป ”  Widman เป็นคนแรกที่คิดใช้เครื่องหมาย
“ + ” และ “ – ”       ในปี 1489  เขากล่าวว่า “  –  คือ minus และ + คือ more เชื่อกันว่าสัญลักษณ์ “ + ” มาจาก
ภาษาละติน et  แปลว่า “ และ ”

รู้ไหม…สัญลักษณ์ p   ที่ใช้ในการหาพื้นที่วงกลมมีความเป็นมาอย่างไร

ในอดีตไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า p เป็นจำนวนอตรรกยะ ในคัมภีร์ไบเบิล(I Kings 7: 23) ตัว pถูกกำหนด
ให้มีค่าเป็น 3 ในปี 1892 นิตยสาร นิวยอร์กไทม์ แสดงค่า p เท่ากับ 3.2  อีกทั้งในปี 1897 ใน House Billหมายเลข  246 ในรัฐอินเดียนน่า ให้ p มีค่าเท่ากับ 4 ในหนังสือพิมพ์ในปี 1934 ให้ p มีค่า   (สัญลักษณ์ pพบครั้งแรกในปี 1934แต่ยังไม่แพร่หลาย จนกระทั่ง Euler เริ่มนำมาใช้ในปี 1737), ในปี1873 William Shanks คำนวณค่า p ได้ทศนิยม 700 ตำแหน่ง โดยเขาใช้เวลานานถึง 15 ปี อย่างไรก็ตามได้มีการนำเทคนิคทางคอมพิวเตอร์มาใช้แทนซึ่งคำนวณได้แม่นยำกว่า 100 ตำแหน่ง    คุณอาจสงสัยว่า p คืออะไร

ปัจจุบันพิสูจน์ได้ว่า p เป็นจำนวนอตรรกยะ  และเราใช้     หรือ  3.14  เป็นค่าประมาณของ p
ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ p  ได้จาก http://school.net.th/l:brary/snet2/know/dge-math/piel.htm.

การค้นหาค่า  p

อักษร  p  อ่านว่า พาย เป็นสัญลักษณ์ที่  Willia  Jones  ได้เริ่มใช้เป็นคนแรกเพื่อบอกอัตราส่วนระหว่างความ
ยาว  เส้นรอบวงของวงกลมใดๆกับความยาวเส้นผ่าศุนย์กลางของวงกลมนั้น  ซึ่งวงกลมทุกวงจะมีอัตราส่วนดังกล่าวเท่ากันหมดคือ ประมาณ3.1415926
ประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้ว่า  เมื่อประมาณ 4,000 นี้ นักคณิตศาสตร์ชาวบาบิโลน รู้จักคำนวณค่า p ได้ประมาณ
3.125 และนักคณิตศาสตร์ได้พบว่า วงกลมใดก็ตามที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 9 หน่วย จะมีพื้นที่เท่ากับ สี่เหลี่ยมจัตุรัสที่
ด้านยาว 8 หน่วย นั้นคือ p 256/81 = 3.1604

Archimedes  นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่เมื่อ  2,250 ปีก่อน ได้แสดงวิธีหาค่า p ใน
หนังสือMeasurement of  a Circle โดยคำนวณพื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่าที่บรรจุในวงกลม และได้ค่า p ว่าอยู่
ระหว่าง 3.1408 กับ 3.1428 ในเวลาต่อมาอีกราว 400 ปี  Ptolemy  นักดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงพบว่า pมีค่า
3  /120 = 3.141666 และในราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 Tsu – Chung-Chih ชาวจีนคำนวณค่า p ได้3.1415926 ซึ่งนับว่าถูกต้องถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 7
วงการคณิตศาสตร์ในสมัยโบราณถือกันว่าใครคำนวณค่า p ซึ่งได้ทศนิยมละเอียดยิ่งมีความสามารถมาก
L.Ceuben ชาวเนเธอร์แลนด์ คำนวณค่าได้จุดทศนิยมถึง 32 ตำแหน่ง และค่าที่เขาหามาได้อย่างลำบากนี้ ได้ถูกนำมา
เรียงจารึกบนหลุมฝังศพของเขา เมื่อเขาสิ้นชีวิต

ในปี พ.ศ. 2320 Le Conte de Buffon พบว่าเขาสามารถหาค่า p ได้จากการทดลองโยนเข็มเล่มหนึ่งอย่างไม่
ตั้งใจลงบนพื้นซึ่งเส้นขนาน 2 เส้น หากเข็มที่เขาใช้มีความยาว l และระยะห่างระหว่างเส้นขนานเท่ากับ dโดยที่ l < d
เขาพบว่า โอกาสที่เข็มจะพาดตัวตัดเส้นขนานเส้นหนึ่ง มีค่าเท่ากับ 2 ดังนั้นเวลาเขาโยนเข็ม N ครั้งแล้วนับจำนวนครั้ง
ที่เข็มพาดทับเส้นขนาน สมมติว่าได้เท่ากับ n ก็แสดงว่า   นั่นคือ p = 2lN/dn
–   Machin (  2249  )  ใช้สูตร         ได้ p ถูกต้องตำแหน่งที่ 100
–   Newton     ใช้สูตร :-     ได้ p ถูกถึงตำแหน่งที่  15
–  Ramanujam ( 2458 )
ใช้สูตร :-   ได้ค่า p ถูกต้องถึงตำแหน่ง17,526,200  ตำแหน่ง
–  Z    G.chudnosky ( 2537 )
ใช้สูตร:-  หาค่า p  ได้ทศนิยม 4,055,000,000 ตำแหน่ง

ใช้สูตร :- หาค่า p  ได้ทศนิยม 4,055,000,000 ตำแหน่ง

–  สถิติโลกในการหาค่า p  ปัจจุบันของ Y. Kamada  แห่งมหาวิทยาลัย Tokyo ซึ่งคำนวณค่า pถึง ทศนิยม
ตำแหน่งที่  6,442,450,938

–  เหตุใดคนเราต้องคำนวณค่า  p  ให้ได้ละเอียดถึงปานนั้น…คำตอบก็คือ…
–   เมื่อเราคำนวณค่า ละเอียดค่า p ที่ได้จะเป็นตัวทดสอบ  สามารถเป็นตัวทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของ
Computer ได้   Computer เครื่องใดทำงานผิดพลาด  จะให้ค่า p ผิดทันที และ Computer ใดคำนวณค่าได้ทศนิยม
ถูกต้องถึง 1,000 ล้านตำแหน่ง แสดงว่า Computer เครื่องนั้นทำงานอย่างน้อย 1,000 ล้านจังหวะได้อย่างไม่ผิดพลาด

รู้ไหม…“ 0 ”  กำเนิดเมื่อไร

ชาวอียิปต์ยังไม่มีสัญลักษณ์แทน  0  ชาวบาบิโลเนียนใช้ระบบตำแหน่งแต่ก็ยังไม่มี 0 ใช้  จึงทำให้ตัวเลขที่เขาใช้ยังไม่สมบูรณ์ จนกระทั่งในปีที่ 150 ของคริสตกาล ชาวมายัน ได้นำ 0 มาใช้เป็นกลุ่มแรก โดยใช้แสดงตำแหน่งและใช้แทนจำนวน 0 ซึ่งไม่ทราบว่านำมาใช้เมื่อใดจนกระทั่งมีบันทึกไว้ก่อนคริสตศตวรรษที่ 16 โดยนักเดินทางชาวสเปนที่เดินทางไปคาบสมุทรยูคาธาน พวกเขาพบว่า ชาวมายันได้มีการใช้ 0 อย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานาน  ก่อนที่โคลัมบัส จะค้นพบอเมริกาเสียอีก

รู้ไหม…ใครค้นพบลอการิทึม

จอห์น เนเปียร์ (John Napier:1550-1617) ได้รับยกย่องว่าเป็นคนค้นพบลอการิทึม ท่านเป็นคนแรกที่พิมพ์ผลงาน  Descriptio  ซึ่งเกี่ยวกับลอการิทึม ในปี 1614

ในปี ค.ศ. 1588 แนวคิดที่คล้ายกันนี้ก็ได้รับการพัฒนาโดย   จ้อบ บูกี้ (Jobst Burgi)           Glaisher  กล่าวว่า การประดิษฐ์ลอการิทึม และตารางคำนวณ  มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อวิทยาศาสตร์ไม่มีงานคณิตศาสตร์ใด ที่มีผลสืบเนื่องอย่างมีคุณค่าเท่ากับงานDescriptio ของ เนเปียร์ ยกเว้น Principia ของนิวตัน

แหล่งที่จะศึกษาทางประวัติเกี่ยวกับลอการิทึม มีอยู่ใน    Encyclopedia Britanica  พิมพ์ครั้งที่  11  ฉบับที่ 16     หน้า 868 – 877 เขียนโดย J.W.L. Glaisher และมีอยู่ใน “ History of the Exponential and Logarithmic Concepts. ในหนังสือวารสาร American Mathematical Monthly. Vol.20(1913) ซึ่งเขียนโดย Florian Cajori

มีใครทราบไหมเอ่ย…ประวัติลอการิทึม  มีความเป็นมาอย่างไร

เมื่อก่อน Logarithms เป็นตัวช่วย ในการคำนวณ แต่ในปัจจุบันนี้  มีความ สำคัญมากขึ้นในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ชาวบาบิโลเนียนเป็นพวกแรกที่ใช้ Logarithms ในการแก้ปัญหา และไม่ใช้ในการคิดคำนวณ

พื้นฐานของ Logarithms สมัยใหม่นั้น  ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย Tycho Brahe (1546-1601) เพื่อใช้พิสูจน์ทฤษฎีของ Copernican  ซึ่งเกี่ยวกับทฤษฎีแห่งการเคลื่อนที่ วิธีการที่เขาใช้เรียกว่า prostaphaeresis

ในปี 1590   Brahe และ  John Craig  ได้เล่าให้Napier  ฟังเกี่ยวกับวิธีการของBrahe ซึ่ง   Napier (1550 – 1617) เป็นคนแรกที่คิดคำว่า Logarithms ขึ้นมา Napierเปรียบเสมือนกับ Isaac Asimov  ในช่วงเวลานั้น เขาได้  จินตนาการถึง รถถัง ปืนกลและเรือดำน้ำ เขาได้ทำนายไว้ด้วยว่า โลกเราถึงการสิ้นสุดในระหว่างปี 1688 และ ปี 1700 ทุกวันนี้Napier ได้รับการยกย่องว่าเป็นคนที่ประดิษฐ์ Logarithms ที่ใช้อย่างกว้างขวางในการคำนวณที่ซับซ้อน ตั้งแต่ก่อนการกำเนิดขึ้นของเครื่องคิดเลข ปัจจุบันเน้นการใช้  Logarithms กว้างขวาง และกว้างไกลมากกว่าการคำนวณแค่จำนวน ธรรมดา ๆ