ทบทวนการวิธีการสอนเพื่อเด็กไทยในทศวรรษหน้า

9 มี.ค.

ทบทวนการวิธีการสอนเพื่อเด็กไทยในทศวรรษหน้า

อาจารย์พงษ์เทพ บุญศรีโรจน์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พร้อมด้วย ดร. วรวรงค์ รักเรืองเดช รองผู้อำนวยการสถาบันการรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พร้อมด้วย ศ.ดร.กฤษณะ เนียมมณี หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในทศวรรษหน้า” เพื่อยกระดับการศึกษาคณิตฯ วิทย์ฯ และเทคโนฯของเด็กไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ ในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในโรงเรียน (วทร.21) และการประชุมนานาชาติ ISMTEC 2013 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

�| } �����<�ั้น ม.2 มี 45 ประเทศที่เข้าร่วมประเมิน ไทยมีผลคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ที่ 427 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 28 และวิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนน 451 อยู่ในอันดับที่ 25

 

รอง ผอ.สสวท.กล่าวอีกว่า เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังกับคะแนนเฉลี่ยในปี 2007 พบว่า คะแนนเฉลี่ยที่เด็กไทยทำได้ลดลงทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยเมื่อปี2007 วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 441 และวิทยาศาสตร์ 471 อย่างไรก็ตาม การประเมินในปี 2011 ประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ เกาหลีใต้ มีคะแนนเฉลี่ย 613 ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์คะแนนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สิงคโปร์ 590 คะแนน ขณะที่ไทยเมื่อพิจารณาในภาพรวมถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่(poor) ทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

เมื่อพิจารณาคะแนนโดยจำแนกตามรายสังกัดพบว่า โรงเรียนสาธิตมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 554 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 600 ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 552 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 606 แต่ทั้งสองวิชาก็ยังมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติซึ่งอยู่ที่ 500 คะแนน ส่วนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 440 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 445 ขณะที่วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 464 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 474 สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 433 เพิ่มขึ้นจากปี 2007 ซึ่งได้ 381 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 457 เพิ่มขึ้นจากปี 2007 ซึ่งได้ 424

โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 424 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 474 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 450 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 501 และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 419 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 504 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 441 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 528

นายปรีชาญกล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาคะแนนจำแนกตามภูมิภาคพบว่า ภาคตะวันออกและปริมณฑลมีคะแนนสูงขึ้นทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยภาคตะวันออกมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 495 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 427 วิชาวิทยาศาสตร์ 508 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 466 ส่วนปริมณฑล วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 481 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 436 วิชาวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 506 สูงกว่าปี 2007 ซึ่งได้ 472 ทั้งนี้ สำหรับภูมิภาคอื่นๆมีคะแนนเฉลี่ยลดลง โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบนที่มีคะแนนลดลงจนน่าเป็นห่วง ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ 415 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 483 และวิชาวิทยาศาสตร์ 441 ลดลงจากปี 2007 ซึ่งได้ 510

นายปรีชาญเปิดเผยอีกว่า ส่วนผลการวิจัยระดับชั้น ป.4 มี 52 ประเทศเข้าร่วม ขณะที่ประเทศไทยเข้าร่วมประเมินเป็นครั้งแรก พบว่าไทยมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 458 อยู่ในอันดับที่ 34 และวิชาวิทยาศาสตร์ 472 อยู่ในอันดับที่ 29 โดยประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ สิงคโปร์ 606 คะแนน ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์สูงสุด ได้แก่ เกาหลีใต้ 587 คะแนน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในภาพรวม ไทยถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่ (poor) ในวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ (Fair)

ทั้งนี้ เมื่อจำแนกตามรายสังกัดพบว่าโรงเรียน สาธิตมีคะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 540 คะแนน วิทยา ศาสตร์ 562 สูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่กำหนดไว้ 500 คะแนน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 502 คะแนน วิทยาศาสตร์ 522 คะแนน โรงเรียนเอกชน คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 487 คะแนน วิทยาศาสตร์ 509 คะแนน โรงเรียนสังกัดเทศบาล/ท้องถิ่น คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 476 คะแนน วิทยาศาสตร์ 495 คะแนน และโรงเรียนสังกัด สพฐ. คะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 446 คะแนน วิทยาศาสตร์ 456 คะแนน ซึ่งโรงเรียนในสังกัด อปท. และ สพฐ. ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ

อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบตามภูมิภาคนักเรียนในกรุงเทพมหานครมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานา ชาติทั้งสองวิชา ส่วนนักเรียนภาคตะวันออกและภาคตะวันตกมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติในวิชาวิทยาศาสตร์ และนักเรียนในภาคอีสานตอนบนมีคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำที่สุด และภาคใต้มีคะแนนวิชาวิทยาศาสตร์ต่ำที่สุด

“นอกจากนี้ มีผลการวิจัยด้านครูยังได้ระบุว่า ครูไทยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งสูงกว่าสิงคโปร์ แต่ผลการประเมินที่ออกมากลับต่ำกว่าสิงคโปร์ค่อนข้างมากทั้ง 2 วิชา ขณะที่ครูไทยมีความมั่นใจในการสอน และความพร้อมในการเตรียมการสอนทั้ง 2 วิชาอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นหลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเร่งด่วน โดยต้องพัฒนาครู สถานศึกษา และนักเรียนไปพร้อมๆ กัน” นายปรีชาญกล่าว.

ใส่ความเห็น